วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557

บทที่ 3 การอ่าน

เรื่องที่ 1 ความสำคัญของการอาน
1 การอ่านช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต ทำให้ผู้อ่านได้รับสาระความรู้เพิ่มขึ้น เป็นคนทันสมัย ทันเหตุการณ์และความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์บ้านเมือง ตลอดจนสังคมและวิทยาการใหม่ๆ เป็นต้น ผู้อ่านเมื่อได้รับความรู้จากการอ่านแล้ว จะสามารถนำสาระต่างๆ มาสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิต สังคมและประเทศชาติในโอกาสต่อไปได้
2. การอ่านช่วยให้เกิดความเพลิดเพลิน หนังสือหลายประเภทนอกจากจะใหความรู้ ความคิดแล้วยังให้ความเพลิดเพลินอีกด้วย ผู้อ่านหนังสือจะได้รับความเพลิดเพลิน ได้รับความสุข อีกทั้งยังสร้างความฝันจิตนาการแก่ผู้อ่าน ตลอดจนเป็นการพักผ่อนและคลายเครียดได้เป็นอย่างดี
3. การอ่านมีผลต่อการดำเนินชีวิตที่สุขสมบูรณ์ของมนุษย์ ผลที่ได้รับจากการอ่าน นอกจากจะเป็นพื้นฐานของการศึกษา ศิลปวิทยาการ และช่วยในการพัฒนาอาชีพแล้ว ยังมีผลช่วยให้ผู้อ่านได้แนวคิดและประสบการณ์จำลองจากการอ่านอีกด้วย ซึ่งความคิดและประสบการณ์จะทำให้ผู้อ่านมีโลกทัศน์กว้างขึ้น เข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น และเข้าใจสังคมเป็นอย่างดี อันจะมีผลต่อการดำเนินชีวิตและการดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ห น้า
เรื่องที่ 2 วิจารณญาณในการอ่าน
วิจารณญาณในการอ่าน คือการรับสารจากการอ่านให้เข้าใจเนื้อหาสาระแล้วใช้สติปัญญาใคร่ครวญหรือไตร่ตรอง โดยอาศัยความรู้ ความคิด ประสบการณ์มาเป็นเหตุผลประกอบและสามารถนำไปใช้ในชีวิตได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
การใช้วิจารณญาณในการอ่าน จะเริ่มต้นที่การอ่านด้วยความตั้งใจและพยายามทำความเข้าใจเนื้อหาสาระของเรื่องที่อ่านแลวใช้ความรู้ ความคิด เหตุผลและประสบการณ์ประกอบการคิด ใคร่ครวญให้สามารถรับสารได้ถูกต้อง ถ่องแท้ การอ่านโดยใช้วิจารณญาณประกอบด้วยการเข้าใจของเรื่อง การรู้จักเขียน การเข้าใจความสัมพันธ์ของสารและการนำไปใช
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณจะตองใช้ความคิด วิเคราะห์ ใคร่ครวญและตัดสินใจว่า ข้อความที่ไดอ่านนั้น สิ่งใดเป็นความสำคัญ สิ่งใดเป็นใจความประกอบหรือพลความ สามารถแยกข้อเท็จจริงจากข้อคิดเห็นได้ ตลอดจนวินิจฉัยได้ว่าข้อความที่อ่านนั้นควรเชื่อถือได้หรือไม่เพียงใด และการอ่านประเมินค่าว่าข้อความที่ได้อ่านมีเนื้อหาสาระหรือมีแง่คิดที่ดีหรือไม่ อาจนำไปใช้ประโยชน์ได้เพียงไร รวมทั้งการประเมินค่างานเขียนในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ ความสามารถ ความจริงใจและกลวิธีในการเขียน
ขั้นตอนของวิจารณญาณในการอ่าน มีดังนี้
1. อ่านให้เข้าใจตลอดเรื่อง เป็นการอ่านสารด้วยความตั้งใจให้เข้าใจรายละเอียดตลอดเรื่อง
2. วิเคราะห์เรื่อง เมื่ออ่านและเข้าใจเรื่องแล้วจะต้องนำมาวิเคราะห์สาระสำคัญให้รู้เรื่องที่อ่านเป็นเรื่องประเภทใด อะไรเป็นข้อเท็จจริง อะไรเป็นข้อคิดเห็น และอะไรเป็นประโยชน์ ลักษณะของตัวละครเป็นอย่างไร เป็นเรื่องประเภทร้อยแก้ว ร้อยกรอง บทความ ข่าว หรือละคร ฯลฯ ผู้เขียนมีเจตนาอย่างไรในการเขียนเรื่องนี้ ใช้กลวิธีในการนำเสนออย่างไร ซึ่งผู้อานต้องพิจารณาแยกแยะให้ได้





0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ที่อยู่ ติดต่อ

ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนเชียงราย ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย โทรศัพท์ 053-650-995 โทรสาร 53-650-996 E-mail: yupintubtim@gmail.com
 

Blogger news

Blogroll

About