วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557

บทที่ 3 การอ่าน

เรื่องที่ 1 ความสำคัญของการอาน
1 การอ่านช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต ทำให้ผู้อ่านได้รับสาระความรู้เพิ่มขึ้น เป็นคนทันสมัย ทันเหตุการณ์และความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์บ้านเมือง ตลอดจนสังคมและวิทยาการใหม่ๆ เป็นต้น ผู้อ่านเมื่อได้รับความรู้จากการอ่านแล้ว จะสามารถนำสาระต่างๆ มาสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิต สังคมและประเทศชาติในโอกาสต่อไปได้
2. การอ่านช่วยให้เกิดความเพลิดเพลิน หนังสือหลายประเภทนอกจากจะใหความรู้ ความคิดแล้วยังให้ความเพลิดเพลินอีกด้วย ผู้อ่านหนังสือจะได้รับความเพลิดเพลิน ได้รับความสุข อีกทั้งยังสร้างความฝันจิตนาการแก่ผู้อ่าน ตลอดจนเป็นการพักผ่อนและคลายเครียดได้เป็นอย่างดี
3. การอ่านมีผลต่อการดำเนินชีวิตที่สุขสมบูรณ์ของมนุษย์ ผลที่ได้รับจากการอ่าน นอกจากจะเป็นพื้นฐานของการศึกษา ศิลปวิทยาการ และช่วยในการพัฒนาอาชีพแล้ว ยังมีผลช่วยให้ผู้อ่านได้แนวคิดและประสบการณ์จำลองจากการอ่านอีกด้วย ซึ่งความคิดและประสบการณ์จะทำให้ผู้อ่านมีโลกทัศน์กว้างขึ้น เข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น และเข้าใจสังคมเป็นอย่างดี อันจะมีผลต่อการดำเนินชีวิตและการดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ห น้า
เรื่องที่ 2 วิจารณญาณในการอ่าน
วิจารณญาณในการอ่าน คือการรับสารจากการอ่านให้เข้าใจเนื้อหาสาระแล้วใช้สติปัญญาใคร่ครวญหรือไตร่ตรอง โดยอาศัยความรู้ ความคิด ประสบการณ์มาเป็นเหตุผลประกอบและสามารถนำไปใช้ในชีวิตได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
การใช้วิจารณญาณในการอ่าน จะเริ่มต้นที่การอ่านด้วยความตั้งใจและพยายามทำความเข้าใจเนื้อหาสาระของเรื่องที่อ่านแลวใช้ความรู้ ความคิด เหตุผลและประสบการณ์ประกอบการคิด ใคร่ครวญให้สามารถรับสารได้ถูกต้อง ถ่องแท้ การอ่านโดยใช้วิจารณญาณประกอบด้วยการเข้าใจของเรื่อง การรู้จักเขียน การเข้าใจความสัมพันธ์ของสารและการนำไปใช
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณจะตองใช้ความคิด วิเคราะห์ ใคร่ครวญและตัดสินใจว่า ข้อความที่ไดอ่านนั้น สิ่งใดเป็นความสำคัญ สิ่งใดเป็นใจความประกอบหรือพลความ สามารถแยกข้อเท็จจริงจากข้อคิดเห็นได้ ตลอดจนวินิจฉัยได้ว่าข้อความที่อ่านนั้นควรเชื่อถือได้หรือไม่เพียงใด และการอ่านประเมินค่าว่าข้อความที่ได้อ่านมีเนื้อหาสาระหรือมีแง่คิดที่ดีหรือไม่ อาจนำไปใช้ประโยชน์ได้เพียงไร รวมทั้งการประเมินค่างานเขียนในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ ความสามารถ ความจริงใจและกลวิธีในการเขียน
ขั้นตอนของวิจารณญาณในการอ่าน มีดังนี้
1. อ่านให้เข้าใจตลอดเรื่อง เป็นการอ่านสารด้วยความตั้งใจให้เข้าใจรายละเอียดตลอดเรื่อง
2. วิเคราะห์เรื่อง เมื่ออ่านและเข้าใจเรื่องแล้วจะต้องนำมาวิเคราะห์สาระสำคัญให้รู้เรื่องที่อ่านเป็นเรื่องประเภทใด อะไรเป็นข้อเท็จจริง อะไรเป็นข้อคิดเห็น และอะไรเป็นประโยชน์ ลักษณะของตัวละครเป็นอย่างไร เป็นเรื่องประเภทร้อยแก้ว ร้อยกรอง บทความ ข่าว หรือละคร ฯลฯ ผู้เขียนมีเจตนาอย่างไรในการเขียนเรื่องนี้ ใช้กลวิธีในการนำเสนออย่างไร ซึ่งผู้อานต้องพิจารณาแยกแยะให้ได้





คำแนะนำในการใช้หนังสือเรียน

        

        คำแนะนำในการใช้หนังสือเรียน
      หนังสือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาภาษาไทย พท31001 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นหนังสือเรียนที่จัดทำขึ้น สำหรับผู้เรียนที่เป็นนักศึกษานอกระบบ ในการศึกษาหนังสือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาภาษาไทย 
พท 31001 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายผู้เรียนควรปฏิบัติดังนี้
1. ศึกษาโครงสร้างรายวิขาให้เข้าใจในหัวข้อและสาระสำคัญ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และขอบข่ายเนื้อหาของรายวิชา  
   นั้นๆ โดยละเอียด
2. ศึกษารายละเอียดเนื้อหาของแต่ละบทอย่างละเอียด ทำกิจกรรม แล้วตรวจสอบกับแนวตอบกิจกรรม ถ้าผู้เรียนตอบ
    ผิดควรกลับไปศึกษาและทำความเข้าใจในเนื้อหานั้นใหม่ให้เข้าใจ กอนที่จะศึกษาเรื่องต่อๆ ไป
3. ปฏิบัติกิจกรรมทายเรื่องของแต่ละเรื่อง เพื่อเป็นการสรุปความรู้ ความเข้าใจของเนื้อหาในเรื่องนั้นๆ อีกครั้ง และการ
    ปฏิบัติกิจกรรมของแต่ละเนื้อหา แต่ละเรื่อง ผู้เรียนสามารถนำไปตรวจสอบกับครูและเพื่อนๆ ที่ร่วมเรียนในรายวิชาและระดับเดียวกันได้
4. หนังสือเรียนเลมนี้มี 6 บท
   บทที่ 1 การฟัง การดู
   บทที่ 2 การพูด
   บทที่ 3 การอ่าน
   บทที่ 4 การเขียน
   บทที่ 5 หลักการใช้ภาษา

   บทที่ 6 ภาษาไทยกับช่องทางการประกอบอาชีพ 

การใช้ภาษาไทยพื้นฐาน


บทที่ 4 การเขียน

เรื่องที่ 1 หลักการเขียน
ความหมายและความสำคัญของการเขียน
การเขียน คือ การแสดงความรู้ ความคิด อารมณ์ความรู้สึกและความต้องการของผู้ส่งสารออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ผู้รับสารอานเข้าใจได้รับความรู้ ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก และความต้องการต่างๆ เหล่านั้น
การเขียนเป็นพฤติกรรมของการส่งสารของมนุษย์ ซึ่งมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการส่งสารด้วยการพูดและการอ่าน เพราะการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือตัวหนังสือจะคงทนถาวรและกว้างขวางกว่าการพูด และการอ่าน การที่เราได้ทราบความรู้ความคิดและวิทยาการต่างๆ ของบุคคลในยุคก่อนๆ ก็เพราะมนุษย์รู้จักการเขียนสัญลักษณ์แทนคำพูดถ่ายทอดให้เราทราบ
การเขียนเพื่อส่งสารมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหนนั้นย่อมขึ้นอยู่กับผู้ส่งสารหรือผู้เขียนซึ่งจะต้องมีความสามารถในหลายด้าน ทั้งกระบวนการคิดกระบวนการเขียนความสามารถในด้านการใช้ภาษาและอื่นๆดังนี้
1. เป็นผู้มีความรูในเรื่องที่จะเขียนเป็นอย่างดี มีจุดประสงค์ในการถายทอดเพื่อจะให้ผู้อ่านได้รับสิ่งใดและทราบพื้นฐานของผูรับสารเป็นอย่างดีด้วย
2. สามารถเลือกรูปแบบและกลวิธีในการเขียนได้เหมาะสมกับเนื้อหาและโอกาส เช่น การเขียนคำชี้แจงก็เหมาะที่จะเขียนแบบร้อยแก้ว หากเขียนคำอวยพรในโอกาสต่างๆ อาจจะใช้การเขียนแบบรอยกรองเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน จะเหมาะสมกว่า เป็นต้น
3. มีความสามรถในการใช้ภาษาโดยเฉพาะภาษาเขียนทั้งการเขียนคำและข้อความตามอักขรวิธี รวมทั้งการเลือกใช้ถ้อยคำสำนวนต่างๆ
4. มีความสามารถในการศึกษาค้นคว้าและการฝึกฝนทักษะการเขียน
5. มีศิลปะในการใช้ถ้อยคำได้ไพเราะเหมาะสมกับเนื้อหาหรือสารที่ต้องการถ่ายทอด


หลักการเขียนที่ดี
1. เขียนตัวหนังสือชัดเจน อ่านง่าย เป็นระเบียบ
2. เขียนได้ถูกต้องตามอักขรวิธี สะกดการันต์ วรรณยุกต์ วางรูปเครื่องหมายต่างๆ เว้นวรรคตอนได้ถูกต้อง เพื่อจะสื่อความหมายได้ตรงและชัดเจน ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจสารได้ดี
3. เลือกใช้ถ้อยคำได้เหมาะสม สื่อความหมายได้ดี กะทัดรัด ชัดเจนเหมาะสมกับเนื้อหา เพศ วัย และระดับของผู้อ่าน
4. เลือกใช้สำนวนภาษาได้ไพเราะ เหมาะสมกับความรู้ ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ที่ต้องการถ่ายทอด




การเขียนรูปแบบต่างๆ
รูปแบบการเขียน งานเขียนในภาษาไทยมี 2 รูปแบบคือ งานเขียนประเภท ร้อยกรองกับงานเขียนประเภทร้อยแก้ว ซึ่งผู้เรียนได้เคยศึกษามาบ้างแล้วในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในที่นี้จะพูดถึงงานเขียนประเภทร้อยแก้วที่ผู้เรียนจำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การเขียนจดหมาย การเขียนเรียงความ การเขียนย่อความ การจดบันทึกและการเขียนแสดงความคิดเห็น และงานเขียนประเภทร้อยกรองบางประเภทเท่านั้น
การเขียนจดหมาย
การเขียนจดหมายเป็นวิธีการที่นิยมใช้เพื่อการสื่อสารแทนการพูด เมื่อผู้ส่งสารและผู้รับสารอยู่ห่างไกลกัน เพราะประหยัดค่าใช้จ่าย มีลายลักษณ์อักษรเปนหลักฐานส่งถึงกันได้สะดวกทุกพื้นที่ จดหมายที่เขียนติดต่อกันมีหลายประเภทเป็นต้นว่า
จดหมายส่วนตัว เป็นจดหมายที่เขียนถึงกันระหว่างญาติมิตร หรือครูอาจารย์ เพื่อส่งข่าวคราว บอกกล่าวไต่ถามถึงความทุกข์สุข แสดงถึงความรัก ความปรารถนาดี ความระลึกถึงต่อกัน รวมทั้งการเล่าเรื่องหรือเหตุการณ์ที่สำคัญ การขอความช่วยเหลือ ขอคำแนะนำซึ่งกันและกัน
จดหมายกิจธุระ เป็นจดหมายที่บุคคลเขียนติดต่อกับบุคคลอื่น บริษัท ห้างร้านและหน่วยงานอื่นๆ เพื่อแจ้งกิจธุระ เป็นต้นว่า การนัดหมายขอสมัครงาน ขอความช่วยเหลือและขอคำปรึกษาเพื่อประโยชน์ในด้านการงานต่างๆ
จดหมายธุรกิจ เปนจดหมายที่เขียนติดต่อกันในเรื่องธุรกิจ และการเงินระหว่างบริษัท หางร้านและองค์การต่างๆ
จดหมายราชการหรือหนังสือราชการ เป็นจดหมายที่ติดต่อกันเป็นทางราชการจากส่วนราชการหนึ่งถึงอีกส่วนราการหนึ่งข้อความในหนังสือถือว่าเป็นหลักฐานทางราชการและมีสภาพผูกมัดถาวรในราชการ จดหมายราชการจะมีเลขที่ของหนังสือมีการลงทะเบียนรับ-ส่ง ตามระเบียบของงานสารบรรณ
การเขียนจดหมายแต่ละประเภทจะมีลักษณะแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะมีแนวโน้มในการเขียนดังนี้
1. ส่วนประกอบของจดหมายที่สำคัญคือ ที่อยู่ของเจาของจดหมาย วัน เดือน ปีที่เขียนข้อความ ที่ต้องการสื่อสาร คำขึ้นต้น และคำลงทาย
2. ใช้ภาษาที่สื่อความหมายตรง ชัดเจน สั้น กะทัดรัดได้ใจความ เพื่อให้ผู้รับจดหมายได้ทราบอย่างรวดเร็ว การเขียนแบบนี้มักใช้ในการเขียนจดหมาย กิจธุระ จดหมายธุรกิจ และจดหมายราชการ
3. ใช้ถ้อยคำภาษาในเชิงสร้างสรรค์ เลือกเฟ้นถ้อยคำให้น่าอ่าน ระมัดระวังในการใช้ถ้อยคำ การเขียนลักษณะนี้เป็นการเขียนจดหมายส่วนตัว
4. จดหมายที่เขียนติดต่อเป็นทางการต้องศึกษาว่าควรจะส่งถึงใคร ตำแหน่งอะไร เขียนชื่อ ชื่อสกุล ยศ ตำแหน่ง ให้ถูกต้อง
5. ใช้คำขึ้นต้นและคำลงท้ายให้เหมาะสมกับผู้รับตามธรรมเนียม
6. กระดาษและซองเลือกใช้ให้เหมาะสมกับประเภทของจดหมาย ถ้าเป็นจดหมายที่ส่งทางไปรษณีย์ จะต้องเขียนนามผู้ส่งไว้มุมซองบนด้านซ้ายมือ พรอมที่อยู่และรหัสไปรษณีย์ การจ่าหน้าซองให้เขียนหรือพิมพ์ชื่อที่อยู่ของผู้รับให้ชัดเจนและอย่าลืมใส่รหัสไปรษณีย์ด้วย ส่วนดวงตราไปรษณีย์ให้ปิดไว้มุมบนขวามือ คาไปรษณียากรต้องให้ถูกต้องตามกำหนด
การเขียนเรียงความ
การเขียนเรียงความเป็นรูปแบบการเขียนอย่างหนึ่ง ซึ่งจะต้องใช้ศิลปะในการเรียบเรียงถ้อยคำภาษาให้เป็นเนื้อเรื่อง เพื่อถ่ายทอดข้อเท็จจริง ความรู้ ความรู้สึก จินตนาการและความเข้าใจด้วยภาษาที่ถูกต้องสละสลวยการจะเขียนเรียงความได้ดีผู้เขียนจะต้องศึกษารูปแบบ กฏเกณฑ์ให้เข้าใจและฝึกเขียนเป็นประจำ
การเขียนเรียงความ มีส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 ความนำหรือคำนำ
ความนำเปนส่วนแรกของการเขียนเรียงความ ซึ่งผู้รู้ได้แนะนำให้เขียนหลังจากเขียนส่วนอื่นๆ เสร็จเรียบร้อยแล้ว และจะไม่ซ้ำกับข้อความลงท้ายหรือสรุป ความนำของการเขียนเรียงความจะทำหน้าที่ดังนี้
1. กระตุ้นให้ผู้อ่านเกิดความสนใจต่อเนื่องของเรื่องนั้นๆ
2. ปูพื้นฐานความเข้าใจให้กับผู้อ่าน หรือชี้ให้เห็นความสำคัญของเรื่องก่อนที่จะอ่านตอไป
3. บอกขอบข่ายเนื้อเรื่องนั้นๆ ว่ามีขอบข่่ายอย่างไร

ส่วน 2 เนื้อเรื่องหรือตัวเรื่อง
การเขียนเนื้อเรื่อง ผู้เรียนจะต้องดูหัวข้อเรื่องที่จะ เขียนแล้วพิจารณาว่าเป็นเรื่องลักษณะใด ควรตั้งวัตถุประสงค์ของการเขียนเรียงความอย่างไร เพื่อให้ข้อเท็จจริงแก่ผู้อ่านเพื่อโน้มน้าวใจให้ผู้อ่านเชื่อหรือคล้อยตาม เพื่อให้ความบันเทิงหรือเพื่อส่งเสริมให้ผู้อ่านใช้ความคิดของตนให้กว้างขวางขึ้น เมื่อได้จุดประสงค์ในการเขียน ผู้เรียนจะสามารถกำหนดขอบข่ายของหัวข้อเรื่องที่จะเขียนได้
ส่วนที่ 3 บทสรุปหรือความลงท้าย
การเขียนบทสรุปหรือความลงท้าย ผู้รู้ได้แนะนำให้เขียนหลังจากเขียนโครงเรื่องเสร็จแล้วเพราะความลงท้ายจะทำหน้าที่ย้ำความสำคัญของเรื่อง ช่วยให้ผู้อ่านจดจำสาระสำคัญในเรื่องนี้ได้ หรือชวยใหผู้อ่านเข้าใจจุดประสงค์ของผู้เขียนอีกด้วย วิธีการเขียนความลงท้ายอาจทำได้ดังนี้
1. สรุปความทั้งหมดที่นำเสนอในเรื่อง ให้ได้สาระสำคัญอย่างชัดเจน
2. นำเรื่องที่เป็นส่วนสำคัญที่สุดในเนื้อเรื่องมากล่าวย้ำตามจุดประสงค์ของเรื่อง
3. เลือกคำกล่าวที่น่าเชื่อถือ สุภาษิต คำคมที่สอดคล้องกับเรื่องมาเป็นความลงท้าย
4. ฝากข้อคิดและแนวปฏิบัติให้กับผู้อ่าน เพื่อนำไปพิจารณาและปฏิบัติ
5. เสนอแนวคิดหรือข้อใคร่ครวญลักษณะปลายเปิดให้ผู้อ่านนำไปคิดและใคร่ครวญต่อ
ลักษณะของเรียงความที่ดควรมีลักษณะที่เป็นเอกภาพ สัมพันธภาพ และสารัตถภาพ
เอกภาพ คือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของเรื่องไม่เขียนนอกเรื่อง
สัมพันธภาพ คือ มีความสัมพันธ์กันตลอดเรื่อง หมายถึงข้อความแต่ละข้อความหรือแต่ละย่อหนาจะต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันโดยตลอด
สารัตถภาพ คือ การเน้นสาระสำคัญของย่อหน้าแต่ละย่อหน้าและของเรื่องทั้งหมดโดยใชถ้อยคำ ประโยค ข้อความที่กระชับ ชัดเจน สื่อความเรื่องทั้งหมดได้เป็นอย่างดียิ่ง
การเขียนย่อความ
การย่อความ คือการนำเรื่องราวต่างๆ มาเขียนใหม่ด้วยสำนวนภาษาของผู้ยอเอง เมื่อเขียนแล้วเนื้อความเดิมจะสั้นลง แต่ยังมีใจความสำคัญครบถ้วนสมบูรณ์ การย่อความนี้ ไม่มีขอบเขตว่าควรจะสั้นหรือยาวเท่าใดจึงจะเหมาะ เพราะบางเรื่องมีพลความมากก็ย่อลงไปได้มาก แต่บางเรื่องมีใจความสำคัญมาก ก็อาจย่อได้ 1 ใน 2 หรือ 1 ใน 3 หรือ 1 ใน 4 ของเรื่องเดิมตามแต่ผู้ย่อจะเห็นสมควร
ใจความสำคัญ คือ ข้อความสำคัญในการพูดหรือการเขียน พลความ คือข้อความที่เป็นรายละเอียดนำมาขยายใจความสำคัญให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ถ้าตัดออกผูฟังหรือผู้อ่านก็ยังเข้าใจเรื่องนั้นได้

หลักการย่อความ จากสิ่งที่ได้อ่าน ได้ฟัง
1. อ่านเนื้อเรื่องที่จะย่อให้เข้าใจ อาจมากกว่า 1 เที่ยวก็ได้
2. เมื่อเข้าใจเรื่องดีแล้ว จึงจับใจความสำคัญทีละย่อหน้าเพราะ 1 ย่อหน้าจะมีใจความสำคัญอย่างเดียว
3. นำใจความสำคัญแต่ละยอหนา มาเขียนใหม่ด้วยภาษาของตนเอง โดยคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังนี้
3.1 ไม่ใช้อักษรย่อในข้อความที่ย่อ
3.2 ถ้ามีคำราชาศัพท์ในเรื่องให้คงไว้ไม่ต้องแปลออกเปนคำสามัญ
3.3 จะไม่ใชเครื่องหมายต่างๆ ในข้อความที่ย่อ เช่น อัญประกาศ
3.4 เนื้อเรื่องที่ย่อแล้ว โดยปกติเขียนติดต่อกันในยอหน้าเดียวและควรมีความยาวประมาณ 1 ใน 4 ของเรื่องเดิม
4. คำนำในการอ่านยอความ ให้ใช้แบบคำนำย่อความ ตามประเภทของเรื่องที่จะยอโดยเขียนคำนำไว้ย่อหน้าแรก แล้วจึงเขียนข้อความที่ย่อในย่อหน้าต่อไป
การเขียนบันทึก
การเขียนบันทึกเป็นวิธีการเรียนรู้และจดจำที่ดี นอกจากนี้ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ยังสามารถนำไปเป็นหลักฐานอ้างอิงเพื่อประโยชน์อื่นต่อไป เช่น
การจดบันทึกจาการฟัง
การบันทึกจากการฟังหรือการประสบพบเห็นด้วยตนเอง ย่อมก่อให้เกิดความรู้ ในที่นี้ใคร่ขอแนะนำวิธีจดบันทึกจากการฟังและจากประสบการณ์ตรง เพื่อผู้เรียนจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาด้วยตนเองได้วิธีหนึ่ง
วิธีจดบันทึกจาการฟัง
การจดบันทึกจาการฟังจะได้ผลดีเพียงใดขึ้นอยู่กับสมรรถภาพในการฟังของผู้จดบันทึกในขณะที่ฟังอยู่นั้น เราไม่สามารถจดจำคำพูดได้ทุกคำ ดังนั้นวิธีจดบันทึกจากการฟังจึงจำเป็นต้องรู้จักเลือกจดเฉพาะประเด็นสำคัญ ใช้หลักการอย่างเดียวกับการย่อความนั่นเอง กล่าวคือต้องสามารถแยกใจความสำคัญออกจากพลความได้ ข้อความตอนใดที่ไม่สำคัญหรือไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นโดยตรงก็ไม่จำเป็นต้องจดและวิธีการจดอาจใช้อักษรย่อหรือเครื่องหมายที่ใช้กันทั่วไปเพื่อบันทึกไว้ได้อย่างรวดเร็ว เช่น
.. แทน โรงเรียน 


วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2557

บทที่ 1 การฟัง การดู

เรื่องที่ 1 การเลือกสื่อในการฟังและดู
       สังคมปจจุบันช่องทางการนำเสนอข้อมูลให้ดูและฟังจะมีมากมาย ดังนั้นผู้เรียนควรรู้จักเลือกที่จะดูและฟัง เมื่อได้รับรู้ข้อมูลแล้ว การรู้จักวิเคราะห์ วิจารณ์ เพื่อนำไปใช้ในทางสร้างสรรค์ เป็นสิ่งจำเป็นเพราะผลที่ตามมาจากการดูและฟังจะเป็นผลบวกหรือลบแก่สังคม ก็ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ นั่นคือผลดีจะเกิดแก่สังคมก็เมื่อผู้ดูและฟังนำผลที่ได้นั้นไปใช้อย่างสร้างสรรค์ หรือในปจจุบันจะมีสำนวนที่ใช้กันอย่างแพร่หลายว่าคิดบวก
เมื่อรูจักหลักในการฟังและดูแล้ว ควรจะรู้จักประเภทเพื่อแยกแยะในการนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งอาจสรุปประเภทการแยกแยะประเภทของสื่อในการนำไปใช้ประโยชน์ มีดังนี้
1. สื่อโฆษณา สื่อประเภทนี้ผู้ฟังต้องรู้จุดมุ่งหมาย เพราะส่วนใหญ่จะเป็นการสื่อใหคล้อยตาม อาจไม่สมเหตุสมผล ผู้ฟังต้องพิจารณาไตร่ตรองก่อนซื้อหรือก่อนตัดสินใจ
2. สื่อเพื่อความบันเทิง เช่น เพลง, เรื่องเล่า ซึ่งอาจมีการแสดงประกอบด้วย เช่น นิทาน นิยาย หรือสื่อประเภทละคร สื่อเหล่านี้ผู้รับสารต้องระมัดระวัง ใช้วิจารณญาณประกอบการตัดสินใจก่อนที่จะซื้อหรือทำตาม ปัจจุบันรายการโทรทัศน์จะมีการแนะนำว่าแต่ละรายการเหมาะกับกลุ่มเป้าหมายใด เพราะเชื่อกันว่าถ้าผู้ใดขาดความคิดในเชิงสร้างสรรค์แล้ว สื่อบันเทิงอาจส่งผลร้ายต่อสังคมได้ เช่น ผู้ดูเอาตัวอย่างการจี้, ปล้น, การข่มขืนกระทำชำเรา และแม้แต่การฆ่าตัวตาย โดยเอาอย่างจากละครที่ดูก็เคยมีมาแล้ว
3. ข่าวสาร สื่อประเภทนี้ผู้รับสารต้องมีความพร้อมพอสมควร เพราะควรต้องรู้จักแหล่งข่าว ผู้นำเสนอข่าว การจับประเด็น ความมีเหตุมีผล รู้จักเปรียบเทียบเนื้อหาจากที่มาของข่าวหลายๆ แห่ง เป็นต้น
4. ปาฐกฐา เนื้อหาประเภทนี้ผู้รับสารต้องฟังอย่างมีสมาธิเพื่อจับประเด็นสำคัญให้ได้ และก่อนตัดสินใจเชื่อหรือนำข้อมูลส่วนใดไปใช้ประโยชน์ต้องมีความรู้พื้นฐานในเรื่องนั้นๆ อยู่บ้าง
5. สุนทรพจน์ สื่อประเภทนี้ส่วนใหญ่จะไม่ยาว และมีใจความที่เข้าใจง่าย ชัดเจน แต่ผู้ฟังจะต้องรู้จักกลั่นกรองสิ่งที่ดีไปเปนแนวทางในการปฏิบัติ



หลักการฟังและดูอย่างสร้างสรรค์
1. ต้องเข้าใจความหมาย หลักเบื้องต้นจองการจับใจความของสารที่ฟังและดูนั้น ต้องเข้าใจความหมายของคำ สำนวนประโยคและข้อความที่บรรยายหรืออธิบาย

2. ต้องเข้าใจลักษณะของข้อความ ข้อความแต่ละข้อความต้องมีใจความสำคัญของเรื่องและใจความสำคัญของเรื่องจะอยู่ที่ประโยคสำคัญ ซึ่งเรียกว่า ประโยคใจความ ประโยคใจความจะปรากฏอยู่ในตอนใดตอนหนึ่งของข้อความ โดยปกติจะปรากฏอยูในตอนต้น ตอนกลาง 



เรื่องที่ 2 การวิเคราะห์วิจารณ์เรื่องที่ฟังและดู
ความหมายของการวิเคราะห์ การวินิจและการวิจารณ์
การวิเคราะห์ หมายถึง การที่ผู้ฟังและผู้ดูรับสารแล้วพิจารณาองค์ประกอบออกเป็นส่วนๆ นำมาแยกประเภท ลักษณะ สาระสำคัญของสาร กลวิธีการเสนอและเจตนาของผู้ส่งสาร
การวินิจ หมายถึง การพิจารณาสารด้วยความเอาใจใส่ ฟังและดูอย่างไตร่ตรองพิจารณาหาเหตุผลแยกแยะข้อดีข้อเสีย คุณค่าของสาร ตีความหมายและพิจารณาสำนวน ภาษา ตลอดจนน้ำเสียงและการแสดงของผู้ส่งสาร พยายามทำความเข้าใจความหมายที่แท้จริงเพื่อให้ได้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของผู้วินิจ
การวิจารณ์ หมายถึง การพิจารณาเทคนิคหรือกลวิธีที่แสดงออกมานั้น ให้เห็นว่า น่าคิด น่าสนใจ น่าติดตาม มีชั้นเชิงยอกย้อนหรือตรงไปตรงมา องค์ประกอบใดมีคุณค่าน่าชมเชย องค์ประกอบใดน่าท้วงติงหรือบกพร่องอย่างไร การวิจารณ์สิ่งใดก็ตามจึงต้องใช้ความรูมีเหตุมีผล มีหลักเกณฑ์และมีความรอบคอบด้วย
ตามปกติแล้ว เมื่อจะวิจารณ์สิ่งใด จะต้องผ่านขั้นตอนและกระบวนการของการวิเคราะห์สาร วินิจสาร และประเมินค่าสาร ให้ชัดเจนเสียก่อนแล้ว จึงวิจารณ์แสดงความเห็น ออกมาอย่างมีเหตุมีผลให้น่าคิด น่าฟังและเป็นคำวิจารณ์ที่เชื่อถือได้
การวิจารณ์ ที่รับฟังมาก็เช่นเดียวกัน ต้องผ่านการวิเคราะห์ วินิจ และประเมินค่าสารนั้นมาก่อนและการวิจารณ์แสดงความคิดเห็นที่จะทำได้อย่างมีเหตุมีผลน่าเชื่อถือนั้น ผู้รับสารจะต้องรู้หลักเกณฑ์การวิจารณ์แสดงความคิดเห็นตามชนิดของสาร เพราะสารแตละชนิด ย่อมมีองค์ประกอบเฉพาะตัว เช่น ถ้าเป็นข่าวต้องพิจารณาความถูกต้องตามความเปนจริง แต่ถ้าเป็นละครจะดูความสมจริง และพิจารณาโครงเรื่อง เนื้อเรื่อง ฉาก ตัวละคร ภาษาที่ใช้ บทบาทการแสดง ฯลฯ นอกจากรู้หลักเกณฑ์แล้วจะต้องอาศัยการฝึกฝนบ่อยๆ และอ่านตัวอย่างงานวิจารณ์ของผู้อื่นที่เชี่ยวชาญให้มาก ก็จะช่วยให้การวิจารณดีมีเหตุผลและน่าเชื่อถือ
หลักการวิจารณ์และแสดงความคิดเห็นสารประเภทต่างๆ
สารที่ได้รับจากการฟังมีมากมาย แต่ที่ได้รับเป็นประจำในชีวิตประจำวันได้แก่
1. ข่าวและสารประชาสัมพันธ์
2. ละคร
3. การสนทนา คำสัมภาษณ์บุคคล
4. คำปราศรัย คำบรรยาย คำกล่าวอภิปราย คำให้โอวาท

5. งานประพันธ์ร้อยกรองประเภทต่างๆ






ทักษะการใช้ภาษาไทย


บทที่ 2การพูด


เรื่องที่ 1 มารยาทในการพูด
1. ใช้คำพูดสุภาพเหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคลให้เกียรติกับผู้ที่เราพูดด้วย รู้จักใช้คำที่แสดงถึงความมีมารยาท เช่น คำขอบคุณ ขอบใจ เมื่อผู้อื่นทำคุณต่อเรา และกล่าวขอโทษขออภัยเสียใจในโอกาสที่กระทำการล่วงเกินผู้อื่น
2. ไม่พูดจาเยาะเย้ย ถากถาง ดูหมิ่นเหยียดหยาม เสียดสีผู้อื่น ไม่พูดจายกตนข่มท่าน พูดชี้จุดบกพร่อง หรือปมด้อยของผู้อื่นให้เกิดความอับอาย
3. ไม่ผูกขาดการพูดและความคิดแต่เพียงผู้เดียว ให้โอกาสผู้อื่นได้พูดบ้างไม่พูดตัดบทในระหว่างผู้อื่นกำลังพูด ควรคอยให้ผู้อื่นพูดจนหมดกระบวนความแล้วจึงพูดต่อ
4. เมื่อจะพูดคัดค้านหรือโต้แย้ง ควรจะเหมาะสมกับโอกาสและมีเหตุผลเพียงพอไม่ใช้อารมณ์ควรใช้คำพูดที่นุ่มนวล ไม่ให้เสียบรรยากาศของการพูดคุยกัน
5. การพูดเพื่อสร้างบรรยากาศ ให้เกิดอารมณ์ขัน ควรจะเป็นเรื่องตลกขบขันที่สุภาพ ไม่หยาบโลนหรือพูดลักษณะสองแง่สองง่าม
6. ไม่พูดติเตียน กล่าวหาหรือนินทาผู้อื่นต่อหน้าชุมชน หรือในขณะที่ผู้ที่เราพูดถึงไม่ได้
อยู่ด้วย
7. ควรพูดด้วยน้ำเสียงนุ่มนวลชวนฟัง ไม่ใช้น้ำเสียงห้วนๆ หรือดุดันวางอำนาจเหนือผู้ฟัง รู้จักใช้คำ ค่ะ ครับ นะคะ นะครับ หน่อย เถิด จ๊ะ นะ เสริมการพูดให้สุภาพไพเราะน่าฟัง
คุณธรรมในการพูด การปฏิบัติตามมารยาทในการพูดดังกล่าวมาแล้ว ยังไม่ถือว่าเป็นการพูดดี เพราะยังขาดคุณธรรมในการพูดนั้นก็คือ ขาดความรับผิดชอบ ขาดความจริงใจ เพราะบุคคลที่มีคุณธรรมในการพูดจะต้องมีความรับผิดชอบในคำพูดและสิ่งที่พูดออกไป มีความจริงใจ มีความบริสุทธิ์ใจต่อผู้ที่เราพูดด้วย
. ความรับผิดชอบในการพูด ผู้พูดจะต้องรับผิดชอบต่อการพูดของตนทั้งในด้านกฎหมายและศีลธรรม รับผิดชอบทางกฎหมายนั้นก็คือ เมื่อผู้พูดพูดอย่างขาดความรับผิดชอบมีความผิดตามกฎหมาย ผู้นั้นจะต้องรับโทษ เช่น พูดหมิ่นประมาท แจ้งความเท็จ พูดให้ผู้อื่นเสียหายจนเกิดการฟ้องร้อง ต้องรับโทษตามกฎหมาย
ส่วนความรับผิดชอบในด้านศีลธรรมหรือคุณธรรมนั้น หมายถึงความรับผิดชอบของการพูดที่ทำให้ผู้อื่นเสียใจ ไม่สบายใจเกิดความเสียหายไม่ถึงกับผิดกฎหมายบ้านเมือง แต่เป็นสิ่งไม่เหมาะไม่ควรเช่น การพูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ พูดให้ผู้อื่นถูกตำหนิเหล่านี้ผู้พูดต้องรับผิดชอบ ต้องไม่ปฏิเสธในคำพูดของตน นอกจากนี้ผู้พูดจะต้องไม่พูดต่อเติมเสริมแตจนบิดเบือนจากความจริง

. ความจริงใจและบริสุทธิ์ใจ ผู้พูดต้องมีความจริงใจในการพูดด้วยการแสดงออกทางสีหน้า แววตา อากัปกิริยา น้ำเสียงและคำพูดให้ตรงกับความรู้สึกที่มีอยู่ในจิตใจอย่างแท้จริง ไม่เสแสร้งแกล้งทำ พูดด้วยความบริสุทธิ์ใจ คือการพูดด้วยความปรารถนาดีที่จะให้เกิดผลดีต่อผู้ฟัง ไม่พูดเพื่อให้เขาเกิดความเดือดร้อนเสียหาย ในการพูดควรพิจารณาถึงผลดี ผลเสีย กาลเทศะ อะไรควรพูด อะไรไม่ควรพูดเป็นสิ่งสำคัญ
เรื่องที่ 2 ลักษณะการพูดที่ดี
การพูด
การพูดเป็นการสื่อสารอีกประเภทหนึ่งที่ใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน ในการพูดควรตระหนักถึงวัฒนธรรมในการใช้ภาษา คือต้องเป็นผู้มีมารยาทในการพูด มีคุณธรรมในการพูดและปฏิบัติตามลักษณะการพูดที่ดี จึงจะสื่อกับผู้ฟังได้ตามที่ต้องการ
การพูดของแต่ละบุคคลในแต่ละครั้งจะดีหรือไม่ดีอย่างไรนั้น เรามีเกณฑ์ที่จะพิจารณาได้ ถ้าเป็นการพูดที่ดีจะมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. ต้องมีเนื้อหาดี เนื้อหาก็จะต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย เนื้อหาที่ดีต้องตรงตามจุดมุ่งหมายของผู้พูด ผู้พูดมีจุดมุ่งหมายการพูดเพื่ออะไร เพื่อความรู้ ความคิด เพื่อความบันเทิง เพื่อจูงใจโน้มน้าวใจ เนื้อหาจะต้องตรงตามเจตนารมณ์ของผู้พูดและเนื้อหานั้นต้องมีความยากง่ายเหมาะกับผู้ฟัง มีการลำดับเหตุการณ์ ความคิดที่ดีมีระเบียบไม่วกวน จึงจะเรียกว่ามีเนื้อหาดี
2. ต้องมีวิธีการถ่ายทอดดี ผู้พูดจะต้องมีวิธีการถ่ายทอดความรู้ความคิดหรือสิ่งที่ต้องการถ่ายทอดให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายเกิดความเชื่อถือ และประทับใจ ผู้พูดต้องมีศิลปะในการใชถ้อยคำภาษาและการใช้น้ำเสียง มีการแสดงกิริยาทาทางประกอบในการแสดงออกทางสีหน้า แววตาได้อย่างสอดคล้องเหมาะสม การพูดจึงจะเกิดประสิทธิผล
3. มีบุคลิกภาพดี ผู้พูดจะต้องแสดงออกทางกายและทางใจได้เหมาะสมกับโอกาสของการพูด อันประกอบด้วย รูปร่างหน้าตา ซึ่งเราไม่สามารถที่จะปรับเปลี่ยนอะไรได้มากนัก แต่ก็ต้องทำให้ดูดีที่สุด การแต่งกายและกริยาท่าทาง ในส่วนนี้เราสามารถที่จะสร้างภาพให้ดีได้ไม่ยาก จึงเป็นส่วนที่จะช่วยในการสร้างบุคลิกภาพที่ดีได้มาก ส่วนทางจิตใจนั้นเราต้องสร้างความเชื่อมั่นในตัวเองให้สูง มีความจริงใจและมีความคิดริเริ่ม ผู้พูดที่มีบุคลิกภาพที่ดี จึงดึงดูดใจให้ผู้ฟังเชื่อมั่น ศรัทธาและประทับใจได้ง่าย การสร้างบุคลิกภาพที่ดีเป็นคุณลักษณะสำคัญอยางหนึ่งของการพูด
การพูดที่ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวันนั้นมีลักษณะแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโอกาสสถานที่ กาลเทศะและบุคคลที่เราพูด ถ้าพูดเป็นทางการ เช่น การพูดในที่ประชุม สัมมนา การพูดรายงานความก้าวหน้าของการปฏิบัติงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ ผู้พูดย่อมต้องใช้ภาษาลักษณะหนึ่ง แต่ในโอกาสที่ไม่
เป็นทางการเช่น การพูดในวงสนทนาของเพื่อนที่สนิทสนมกัน การพูดให้คำปรึกษาของครู กศน. กับผู้เรียน ผู้นำหมู่บานชี้แจงรายละเอียดของการประชุมให้คนในชุมชนทราบ ก็ย่อมจะใช้ภาษาอีกอย่างหนึ่ง หรือถ้าเราพูดกับบุคคลที่รู้จักคุ้นเคยกันมาเป็นอย่างดีก็ใช้ภาษาพูดลักษณะหนึ่ง แต่ถ้าพูดกับบุคคลที่เราเพิ่งรู้จักยังไม่คุ้นเคยก็จะใช้ภาษาอีกลักษณะหนึ่ง

ที่อยู่ ติดต่อ

ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนเชียงราย ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย โทรศัพท์ 053-650-995 โทรสาร 53-650-996 E-mail: yupintubtim@gmail.com
 

Blogger news

Blogroll

About