วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2557

บทที่ 2การพูด


เรื่องที่ 1 มารยาทในการพูด
1. ใช้คำพูดสุภาพเหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคลให้เกียรติกับผู้ที่เราพูดด้วย รู้จักใช้คำที่แสดงถึงความมีมารยาท เช่น คำขอบคุณ ขอบใจ เมื่อผู้อื่นทำคุณต่อเรา และกล่าวขอโทษขออภัยเสียใจในโอกาสที่กระทำการล่วงเกินผู้อื่น
2. ไม่พูดจาเยาะเย้ย ถากถาง ดูหมิ่นเหยียดหยาม เสียดสีผู้อื่น ไม่พูดจายกตนข่มท่าน พูดชี้จุดบกพร่อง หรือปมด้อยของผู้อื่นให้เกิดความอับอาย
3. ไม่ผูกขาดการพูดและความคิดแต่เพียงผู้เดียว ให้โอกาสผู้อื่นได้พูดบ้างไม่พูดตัดบทในระหว่างผู้อื่นกำลังพูด ควรคอยให้ผู้อื่นพูดจนหมดกระบวนความแล้วจึงพูดต่อ
4. เมื่อจะพูดคัดค้านหรือโต้แย้ง ควรจะเหมาะสมกับโอกาสและมีเหตุผลเพียงพอไม่ใช้อารมณ์ควรใช้คำพูดที่นุ่มนวล ไม่ให้เสียบรรยากาศของการพูดคุยกัน
5. การพูดเพื่อสร้างบรรยากาศ ให้เกิดอารมณ์ขัน ควรจะเป็นเรื่องตลกขบขันที่สุภาพ ไม่หยาบโลนหรือพูดลักษณะสองแง่สองง่าม
6. ไม่พูดติเตียน กล่าวหาหรือนินทาผู้อื่นต่อหน้าชุมชน หรือในขณะที่ผู้ที่เราพูดถึงไม่ได้
อยู่ด้วย
7. ควรพูดด้วยน้ำเสียงนุ่มนวลชวนฟัง ไม่ใช้น้ำเสียงห้วนๆ หรือดุดันวางอำนาจเหนือผู้ฟัง รู้จักใช้คำ ค่ะ ครับ นะคะ นะครับ หน่อย เถิด จ๊ะ นะ เสริมการพูดให้สุภาพไพเราะน่าฟัง
คุณธรรมในการพูด การปฏิบัติตามมารยาทในการพูดดังกล่าวมาแล้ว ยังไม่ถือว่าเป็นการพูดดี เพราะยังขาดคุณธรรมในการพูดนั้นก็คือ ขาดความรับผิดชอบ ขาดความจริงใจ เพราะบุคคลที่มีคุณธรรมในการพูดจะต้องมีความรับผิดชอบในคำพูดและสิ่งที่พูดออกไป มีความจริงใจ มีความบริสุทธิ์ใจต่อผู้ที่เราพูดด้วย
. ความรับผิดชอบในการพูด ผู้พูดจะต้องรับผิดชอบต่อการพูดของตนทั้งในด้านกฎหมายและศีลธรรม รับผิดชอบทางกฎหมายนั้นก็คือ เมื่อผู้พูดพูดอย่างขาดความรับผิดชอบมีความผิดตามกฎหมาย ผู้นั้นจะต้องรับโทษ เช่น พูดหมิ่นประมาท แจ้งความเท็จ พูดให้ผู้อื่นเสียหายจนเกิดการฟ้องร้อง ต้องรับโทษตามกฎหมาย
ส่วนความรับผิดชอบในด้านศีลธรรมหรือคุณธรรมนั้น หมายถึงความรับผิดชอบของการพูดที่ทำให้ผู้อื่นเสียใจ ไม่สบายใจเกิดความเสียหายไม่ถึงกับผิดกฎหมายบ้านเมือง แต่เป็นสิ่งไม่เหมาะไม่ควรเช่น การพูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ พูดให้ผู้อื่นถูกตำหนิเหล่านี้ผู้พูดต้องรับผิดชอบ ต้องไม่ปฏิเสธในคำพูดของตน นอกจากนี้ผู้พูดจะต้องไม่พูดต่อเติมเสริมแตจนบิดเบือนจากความจริง

. ความจริงใจและบริสุทธิ์ใจ ผู้พูดต้องมีความจริงใจในการพูดด้วยการแสดงออกทางสีหน้า แววตา อากัปกิริยา น้ำเสียงและคำพูดให้ตรงกับความรู้สึกที่มีอยู่ในจิตใจอย่างแท้จริง ไม่เสแสร้งแกล้งทำ พูดด้วยความบริสุทธิ์ใจ คือการพูดด้วยความปรารถนาดีที่จะให้เกิดผลดีต่อผู้ฟัง ไม่พูดเพื่อให้เขาเกิดความเดือดร้อนเสียหาย ในการพูดควรพิจารณาถึงผลดี ผลเสีย กาลเทศะ อะไรควรพูด อะไรไม่ควรพูดเป็นสิ่งสำคัญ
เรื่องที่ 2 ลักษณะการพูดที่ดี
การพูด
การพูดเป็นการสื่อสารอีกประเภทหนึ่งที่ใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน ในการพูดควรตระหนักถึงวัฒนธรรมในการใช้ภาษา คือต้องเป็นผู้มีมารยาทในการพูด มีคุณธรรมในการพูดและปฏิบัติตามลักษณะการพูดที่ดี จึงจะสื่อกับผู้ฟังได้ตามที่ต้องการ
การพูดของแต่ละบุคคลในแต่ละครั้งจะดีหรือไม่ดีอย่างไรนั้น เรามีเกณฑ์ที่จะพิจารณาได้ ถ้าเป็นการพูดที่ดีจะมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. ต้องมีเนื้อหาดี เนื้อหาก็จะต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย เนื้อหาที่ดีต้องตรงตามจุดมุ่งหมายของผู้พูด ผู้พูดมีจุดมุ่งหมายการพูดเพื่ออะไร เพื่อความรู้ ความคิด เพื่อความบันเทิง เพื่อจูงใจโน้มน้าวใจ เนื้อหาจะต้องตรงตามเจตนารมณ์ของผู้พูดและเนื้อหานั้นต้องมีความยากง่ายเหมาะกับผู้ฟัง มีการลำดับเหตุการณ์ ความคิดที่ดีมีระเบียบไม่วกวน จึงจะเรียกว่ามีเนื้อหาดี
2. ต้องมีวิธีการถ่ายทอดดี ผู้พูดจะต้องมีวิธีการถ่ายทอดความรู้ความคิดหรือสิ่งที่ต้องการถ่ายทอดให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายเกิดความเชื่อถือ และประทับใจ ผู้พูดต้องมีศิลปะในการใชถ้อยคำภาษาและการใช้น้ำเสียง มีการแสดงกิริยาทาทางประกอบในการแสดงออกทางสีหน้า แววตาได้อย่างสอดคล้องเหมาะสม การพูดจึงจะเกิดประสิทธิผล
3. มีบุคลิกภาพดี ผู้พูดจะต้องแสดงออกทางกายและทางใจได้เหมาะสมกับโอกาสของการพูด อันประกอบด้วย รูปร่างหน้าตา ซึ่งเราไม่สามารถที่จะปรับเปลี่ยนอะไรได้มากนัก แต่ก็ต้องทำให้ดูดีที่สุด การแต่งกายและกริยาท่าทาง ในส่วนนี้เราสามารถที่จะสร้างภาพให้ดีได้ไม่ยาก จึงเป็นส่วนที่จะช่วยในการสร้างบุคลิกภาพที่ดีได้มาก ส่วนทางจิตใจนั้นเราต้องสร้างความเชื่อมั่นในตัวเองให้สูง มีความจริงใจและมีความคิดริเริ่ม ผู้พูดที่มีบุคลิกภาพที่ดี จึงดึงดูดใจให้ผู้ฟังเชื่อมั่น ศรัทธาและประทับใจได้ง่าย การสร้างบุคลิกภาพที่ดีเป็นคุณลักษณะสำคัญอยางหนึ่งของการพูด
การพูดที่ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวันนั้นมีลักษณะแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโอกาสสถานที่ กาลเทศะและบุคคลที่เราพูด ถ้าพูดเป็นทางการ เช่น การพูดในที่ประชุม สัมมนา การพูดรายงานความก้าวหน้าของการปฏิบัติงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ ผู้พูดย่อมต้องใช้ภาษาลักษณะหนึ่ง แต่ในโอกาสที่ไม่
เป็นทางการเช่น การพูดในวงสนทนาของเพื่อนที่สนิทสนมกัน การพูดให้คำปรึกษาของครู กศน. กับผู้เรียน ผู้นำหมู่บานชี้แจงรายละเอียดของการประชุมให้คนในชุมชนทราบ ก็ย่อมจะใช้ภาษาอีกอย่างหนึ่ง หรือถ้าเราพูดกับบุคคลที่รู้จักคุ้นเคยกันมาเป็นอย่างดีก็ใช้ภาษาพูดลักษณะหนึ่ง แต่ถ้าพูดกับบุคคลที่เราเพิ่งรู้จักยังไม่คุ้นเคยก็จะใช้ภาษาอีกลักษณะหนึ่ง

2 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณที่ให้ความไว้วางใจในการให้บริการออนไลน์สำหรับการช่วยเหลือเงินกู้ 200,000 ยูโรเพื่อเริ่มต้นครอบครัวของฉันภายใน 24 ชั่วโมงหากคุณสนใจที่จะกู้เงินด่วนในอัตราต่ำติดต่อ Trustloan Online Services ที่: {trustloan88 @ g m a l l. c o m}

    ตอบลบ

ที่อยู่ ติดต่อ

ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนเชียงราย ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย โทรศัพท์ 053-650-995 โทรสาร 53-650-996 E-mail: yupintubtim@gmail.com
 

Blogger news

Blogroll

About