เรื่องที่
1 การเลือกสื่อในการฟังและดู
สังคมปจจุบันช่องทางการนำเสนอข้อมูลให้ดูและฟังจะมีมากมาย
ดังนั้นผู้เรียนควรรู้จักเลือกที่จะดูและฟัง เมื่อได้รับรู้ข้อมูลแล้ว การรู้จักวิเคราะห์
วิจารณ์ เพื่อนำไปใช้ในทางสร้างสรรค์ เป็นสิ่งจำเป็นเพราะผลที่ตามมาจากการดูและฟังจะเป็นผลบวกหรือลบแก่สังคม
ก็ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ นั่นคือผลดีจะเกิดแก่สังคมก็เมื่อผู้ดูและฟังนำผลที่ได้นั้นไปใช้อย่างสร้างสรรค์
หรือในปจจุบันจะมีสำนวนที่ใช้กันอย่างแพร่หลายว่าคิดบวก
เมื่อรูจักหลักในการฟังและดูแล้ว
ควรจะรู้จักประเภทเพื่อแยกแยะในการนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งอาจสรุปประเภทการแยกแยะประเภทของสื่อในการนำไปใช้ประโยชน์
มีดังนี้
1. สื่อโฆษณา สื่อประเภทนี้ผู้ฟังต้องรู้จุดมุ่งหมาย
เพราะส่วนใหญ่จะเป็นการสื่อใหคล้อยตาม อาจไม่สมเหตุสมผล ผู้ฟังต้องพิจารณาไตร่ตรองก่อนซื้อหรือก่อนตัดสินใจ
2. สื่อเพื่อความบันเทิง เช่น เพลง, เรื่องเล่า ซึ่งอาจมีการแสดงประกอบด้วย
เช่น นิทาน นิยาย หรือสื่อประเภทละคร สื่อเหล่านี้ผู้รับสารต้องระมัดระวัง ใช้วิจารณญาณประกอบการตัดสินใจก่อนที่จะซื้อหรือทำตาม
ปัจจุบันรายการโทรทัศน์จะมีการแนะนำว่าแต่ละรายการเหมาะกับกลุ่มเป้าหมายใด เพราะเชื่อกันว่าถ้าผู้ใดขาดความคิดในเชิงสร้างสรรค์แล้ว
สื่อบันเทิงอาจส่งผลร้ายต่อสังคมได้ เช่น ผู้ดูเอาตัวอย่างการจี้, ปล้น, การข่มขืนกระทำชำเรา และแม้แต่การฆ่าตัวตาย โดยเอาอย่างจากละครที่ดูก็เคยมีมาแล้ว
3. ข่าวสาร สื่อประเภทนี้ผู้รับสารต้องมีความพร้อมพอสมควร
เพราะควรต้องรู้จักแหล่งข่าว ผู้นำเสนอข่าว การจับประเด็น ความมีเหตุมีผล รู้จักเปรียบเทียบเนื้อหาจากที่มาของข่าวหลายๆ
แห่ง เป็นต้น
4. ปาฐกฐา เนื้อหาประเภทนี้ผู้รับสารต้องฟังอย่างมีสมาธิเพื่อจับประเด็นสำคัญให้ได้
และก่อนตัดสินใจเชื่อหรือนำข้อมูลส่วนใดไปใช้ประโยชน์ต้องมีความรู้พื้นฐานในเรื่องนั้นๆ
อยู่บ้าง
5. สุนทรพจน์ สื่อประเภทนี้ส่วนใหญ่จะไม่ยาว
และมีใจความที่เข้าใจง่าย ชัดเจน แต่ผู้ฟังจะต้องรู้จักกลั่นกรองสิ่งที่ดีไปเปนแนวทางในการปฏิบัติ
หลักการฟังและดูอย่างสร้างสรรค์
1. ต้องเข้าใจความหมาย หลักเบื้องต้นจองการจับใจความของสารที่ฟังและดูนั้น ต้องเข้าใจความหมายของคำ
สำนวนประโยคและข้อความที่บรรยายหรืออธิบาย
2. ต้องเข้าใจลักษณะของข้อความ ข้อความแต่ละข้อความต้องมีใจความสำคัญของเรื่องและใจความสำคัญของเรื่องจะอยู่ที่ประโยคสำคัญ
ซึ่งเรียกว่า ประโยคใจความ ประโยคใจความจะปรากฏอยู่ในตอนใดตอนหนึ่งของข้อความ โดยปกติจะปรากฏอยูในตอนต้น ตอนกลาง
เรื่องที่
2 การวิเคราะห์วิจารณ์เรื่องที่ฟังและดู
ความหมายของการวิเคราะห์ การวินิจและการวิจารณ์
การวิเคราะห์ หมายถึง การที่ผู้ฟังและผู้ดูรับสารแล้วพิจารณาองค์ประกอบออกเป็นส่วนๆ
นำมาแยกประเภท ลักษณะ สาระสำคัญของสาร กลวิธีการเสนอและเจตนาของผู้ส่งสาร
การวินิจ หมายถึง การพิจารณาสารด้วยความเอาใจใส่
ฟังและดูอย่างไตร่ตรองพิจารณาหาเหตุผลแยกแยะข้อดีข้อเสีย คุณค่าของสาร ตีความหมายและพิจารณาสำนวน
ภาษา ตลอดจนน้ำเสียงและการแสดงของผู้ส่งสาร พยายามทำความเข้าใจความหมายที่แท้จริงเพื่อให้ได้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของผู้วินิจ
การวิจารณ์ หมายถึง การพิจารณาเทคนิคหรือกลวิธีที่แสดงออกมานั้น
ให้เห็นว่า น่าคิด น่าสนใจ น่าติดตาม มีชั้นเชิงยอกย้อนหรือตรงไปตรงมา องค์ประกอบใดมีคุณค่าน่าชมเชย
องค์ประกอบใดน่าท้วงติงหรือบกพร่องอย่างไร การวิจารณ์สิ่งใดก็ตามจึงต้องใช้ความรูมีเหตุมีผล มีหลักเกณฑ์และมีความรอบคอบด้วย
ตามปกติแล้ว เมื่อจะวิจารณ์สิ่งใด จะต้องผ่านขั้นตอนและกระบวนการของการวิเคราะห์สาร
วินิจสาร และประเมินค่าสาร ให้ชัดเจนเสียก่อนแล้ว จึงวิจารณ์แสดงความเห็น ออกมาอย่างมีเหตุมีผลให้น่าคิด
น่าฟังและเป็นคำวิจารณ์ที่เชื่อถือได้
การวิจารณ์ ที่รับฟังมาก็เช่นเดียวกัน
ต้องผ่านการวิเคราะห์ วินิจ และประเมินค่าสารนั้นมาก่อนและการวิจารณ์แสดงความคิดเห็นที่จะทำได้อย่างมีเหตุมีผลน่าเชื่อถือนั้น
ผู้รับสารจะต้องรู้หลักเกณฑ์การวิจารณ์แสดงความคิดเห็นตามชนิดของสาร เพราะสารแตละชนิด ย่อมมีองค์ประกอบเฉพาะตัว
เช่น ถ้าเป็นข่าวต้องพิจารณาความถูกต้องตามความเปนจริง แต่ถ้าเป็นละครจะดูความสมจริง
และพิจารณาโครงเรื่อง เนื้อเรื่อง ฉาก ตัวละคร ภาษาที่ใช้ บทบาทการแสดง ฯลฯ นอกจากรู้หลักเกณฑ์แล้วจะต้องอาศัยการฝึกฝนบ่อยๆ
และอ่านตัวอย่างงานวิจารณ์ของผู้อื่นที่เชี่ยวชาญให้มาก ก็จะช่วยให้การวิจารณดีมีเหตุผลและน่าเชื่อถือ
หลักการวิจารณ์และแสดงความคิดเห็นสารประเภทต่างๆ
สารที่ได้รับจากการฟังมีมากมาย
แต่ที่ได้รับเป็นประจำในชีวิตประจำวันได้แก่
1. ข่าวและสารประชาสัมพันธ์
2. ละคร
3. การสนทนา คำสัมภาษณ์บุคคล
4. คำปราศรัย คำบรรยาย คำกล่าวอภิปราย คำให้โอวาท
5. งานประพันธ์ร้อยกรองประเภทต่างๆ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น