วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557

บทที่ 4 การเขียน

เรื่องที่ 1 หลักการเขียน
ความหมายและความสำคัญของการเขียน
การเขียน คือ การแสดงความรู้ ความคิด อารมณ์ความรู้สึกและความต้องการของผู้ส่งสารออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ผู้รับสารอานเข้าใจได้รับความรู้ ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก และความต้องการต่างๆ เหล่านั้น
การเขียนเป็นพฤติกรรมของการส่งสารของมนุษย์ ซึ่งมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการส่งสารด้วยการพูดและการอ่าน เพราะการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือตัวหนังสือจะคงทนถาวรและกว้างขวางกว่าการพูด และการอ่าน การที่เราได้ทราบความรู้ความคิดและวิทยาการต่างๆ ของบุคคลในยุคก่อนๆ ก็เพราะมนุษย์รู้จักการเขียนสัญลักษณ์แทนคำพูดถ่ายทอดให้เราทราบ
การเขียนเพื่อส่งสารมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหนนั้นย่อมขึ้นอยู่กับผู้ส่งสารหรือผู้เขียนซึ่งจะต้องมีความสามารถในหลายด้าน ทั้งกระบวนการคิดกระบวนการเขียนความสามารถในด้านการใช้ภาษาและอื่นๆดังนี้
1. เป็นผู้มีความรูในเรื่องที่จะเขียนเป็นอย่างดี มีจุดประสงค์ในการถายทอดเพื่อจะให้ผู้อ่านได้รับสิ่งใดและทราบพื้นฐานของผูรับสารเป็นอย่างดีด้วย
2. สามารถเลือกรูปแบบและกลวิธีในการเขียนได้เหมาะสมกับเนื้อหาและโอกาส เช่น การเขียนคำชี้แจงก็เหมาะที่จะเขียนแบบร้อยแก้ว หากเขียนคำอวยพรในโอกาสต่างๆ อาจจะใช้การเขียนแบบรอยกรองเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน จะเหมาะสมกว่า เป็นต้น
3. มีความสามรถในการใช้ภาษาโดยเฉพาะภาษาเขียนทั้งการเขียนคำและข้อความตามอักขรวิธี รวมทั้งการเลือกใช้ถ้อยคำสำนวนต่างๆ
4. มีความสามารถในการศึกษาค้นคว้าและการฝึกฝนทักษะการเขียน
5. มีศิลปะในการใช้ถ้อยคำได้ไพเราะเหมาะสมกับเนื้อหาหรือสารที่ต้องการถ่ายทอด


หลักการเขียนที่ดี
1. เขียนตัวหนังสือชัดเจน อ่านง่าย เป็นระเบียบ
2. เขียนได้ถูกต้องตามอักขรวิธี สะกดการันต์ วรรณยุกต์ วางรูปเครื่องหมายต่างๆ เว้นวรรคตอนได้ถูกต้อง เพื่อจะสื่อความหมายได้ตรงและชัดเจน ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจสารได้ดี
3. เลือกใช้ถ้อยคำได้เหมาะสม สื่อความหมายได้ดี กะทัดรัด ชัดเจนเหมาะสมกับเนื้อหา เพศ วัย และระดับของผู้อ่าน
4. เลือกใช้สำนวนภาษาได้ไพเราะ เหมาะสมกับความรู้ ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ที่ต้องการถ่ายทอด




การเขียนรูปแบบต่างๆ
รูปแบบการเขียน งานเขียนในภาษาไทยมี 2 รูปแบบคือ งานเขียนประเภท ร้อยกรองกับงานเขียนประเภทร้อยแก้ว ซึ่งผู้เรียนได้เคยศึกษามาบ้างแล้วในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในที่นี้จะพูดถึงงานเขียนประเภทร้อยแก้วที่ผู้เรียนจำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การเขียนจดหมาย การเขียนเรียงความ การเขียนย่อความ การจดบันทึกและการเขียนแสดงความคิดเห็น และงานเขียนประเภทร้อยกรองบางประเภทเท่านั้น
การเขียนจดหมาย
การเขียนจดหมายเป็นวิธีการที่นิยมใช้เพื่อการสื่อสารแทนการพูด เมื่อผู้ส่งสารและผู้รับสารอยู่ห่างไกลกัน เพราะประหยัดค่าใช้จ่าย มีลายลักษณ์อักษรเปนหลักฐานส่งถึงกันได้สะดวกทุกพื้นที่ จดหมายที่เขียนติดต่อกันมีหลายประเภทเป็นต้นว่า
จดหมายส่วนตัว เป็นจดหมายที่เขียนถึงกันระหว่างญาติมิตร หรือครูอาจารย์ เพื่อส่งข่าวคราว บอกกล่าวไต่ถามถึงความทุกข์สุข แสดงถึงความรัก ความปรารถนาดี ความระลึกถึงต่อกัน รวมทั้งการเล่าเรื่องหรือเหตุการณ์ที่สำคัญ การขอความช่วยเหลือ ขอคำแนะนำซึ่งกันและกัน
จดหมายกิจธุระ เป็นจดหมายที่บุคคลเขียนติดต่อกับบุคคลอื่น บริษัท ห้างร้านและหน่วยงานอื่นๆ เพื่อแจ้งกิจธุระ เป็นต้นว่า การนัดหมายขอสมัครงาน ขอความช่วยเหลือและขอคำปรึกษาเพื่อประโยชน์ในด้านการงานต่างๆ
จดหมายธุรกิจ เปนจดหมายที่เขียนติดต่อกันในเรื่องธุรกิจ และการเงินระหว่างบริษัท หางร้านและองค์การต่างๆ
จดหมายราชการหรือหนังสือราชการ เป็นจดหมายที่ติดต่อกันเป็นทางราชการจากส่วนราชการหนึ่งถึงอีกส่วนราการหนึ่งข้อความในหนังสือถือว่าเป็นหลักฐานทางราชการและมีสภาพผูกมัดถาวรในราชการ จดหมายราชการจะมีเลขที่ของหนังสือมีการลงทะเบียนรับ-ส่ง ตามระเบียบของงานสารบรรณ
การเขียนจดหมายแต่ละประเภทจะมีลักษณะแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะมีแนวโน้มในการเขียนดังนี้
1. ส่วนประกอบของจดหมายที่สำคัญคือ ที่อยู่ของเจาของจดหมาย วัน เดือน ปีที่เขียนข้อความ ที่ต้องการสื่อสาร คำขึ้นต้น และคำลงทาย
2. ใช้ภาษาที่สื่อความหมายตรง ชัดเจน สั้น กะทัดรัดได้ใจความ เพื่อให้ผู้รับจดหมายได้ทราบอย่างรวดเร็ว การเขียนแบบนี้มักใช้ในการเขียนจดหมาย กิจธุระ จดหมายธุรกิจ และจดหมายราชการ
3. ใช้ถ้อยคำภาษาในเชิงสร้างสรรค์ เลือกเฟ้นถ้อยคำให้น่าอ่าน ระมัดระวังในการใช้ถ้อยคำ การเขียนลักษณะนี้เป็นการเขียนจดหมายส่วนตัว
4. จดหมายที่เขียนติดต่อเป็นทางการต้องศึกษาว่าควรจะส่งถึงใคร ตำแหน่งอะไร เขียนชื่อ ชื่อสกุล ยศ ตำแหน่ง ให้ถูกต้อง
5. ใช้คำขึ้นต้นและคำลงท้ายให้เหมาะสมกับผู้รับตามธรรมเนียม
6. กระดาษและซองเลือกใช้ให้เหมาะสมกับประเภทของจดหมาย ถ้าเป็นจดหมายที่ส่งทางไปรษณีย์ จะต้องเขียนนามผู้ส่งไว้มุมซองบนด้านซ้ายมือ พรอมที่อยู่และรหัสไปรษณีย์ การจ่าหน้าซองให้เขียนหรือพิมพ์ชื่อที่อยู่ของผู้รับให้ชัดเจนและอย่าลืมใส่รหัสไปรษณีย์ด้วย ส่วนดวงตราไปรษณีย์ให้ปิดไว้มุมบนขวามือ คาไปรษณียากรต้องให้ถูกต้องตามกำหนด
การเขียนเรียงความ
การเขียนเรียงความเป็นรูปแบบการเขียนอย่างหนึ่ง ซึ่งจะต้องใช้ศิลปะในการเรียบเรียงถ้อยคำภาษาให้เป็นเนื้อเรื่อง เพื่อถ่ายทอดข้อเท็จจริง ความรู้ ความรู้สึก จินตนาการและความเข้าใจด้วยภาษาที่ถูกต้องสละสลวยการจะเขียนเรียงความได้ดีผู้เขียนจะต้องศึกษารูปแบบ กฏเกณฑ์ให้เข้าใจและฝึกเขียนเป็นประจำ
การเขียนเรียงความ มีส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 ความนำหรือคำนำ
ความนำเปนส่วนแรกของการเขียนเรียงความ ซึ่งผู้รู้ได้แนะนำให้เขียนหลังจากเขียนส่วนอื่นๆ เสร็จเรียบร้อยแล้ว และจะไม่ซ้ำกับข้อความลงท้ายหรือสรุป ความนำของการเขียนเรียงความจะทำหน้าที่ดังนี้
1. กระตุ้นให้ผู้อ่านเกิดความสนใจต่อเนื่องของเรื่องนั้นๆ
2. ปูพื้นฐานความเข้าใจให้กับผู้อ่าน หรือชี้ให้เห็นความสำคัญของเรื่องก่อนที่จะอ่านตอไป
3. บอกขอบข่ายเนื้อเรื่องนั้นๆ ว่ามีขอบข่่ายอย่างไร

ส่วน 2 เนื้อเรื่องหรือตัวเรื่อง
การเขียนเนื้อเรื่อง ผู้เรียนจะต้องดูหัวข้อเรื่องที่จะ เขียนแล้วพิจารณาว่าเป็นเรื่องลักษณะใด ควรตั้งวัตถุประสงค์ของการเขียนเรียงความอย่างไร เพื่อให้ข้อเท็จจริงแก่ผู้อ่านเพื่อโน้มน้าวใจให้ผู้อ่านเชื่อหรือคล้อยตาม เพื่อให้ความบันเทิงหรือเพื่อส่งเสริมให้ผู้อ่านใช้ความคิดของตนให้กว้างขวางขึ้น เมื่อได้จุดประสงค์ในการเขียน ผู้เรียนจะสามารถกำหนดขอบข่ายของหัวข้อเรื่องที่จะเขียนได้
ส่วนที่ 3 บทสรุปหรือความลงท้าย
การเขียนบทสรุปหรือความลงท้าย ผู้รู้ได้แนะนำให้เขียนหลังจากเขียนโครงเรื่องเสร็จแล้วเพราะความลงท้ายจะทำหน้าที่ย้ำความสำคัญของเรื่อง ช่วยให้ผู้อ่านจดจำสาระสำคัญในเรื่องนี้ได้ หรือชวยใหผู้อ่านเข้าใจจุดประสงค์ของผู้เขียนอีกด้วย วิธีการเขียนความลงท้ายอาจทำได้ดังนี้
1. สรุปความทั้งหมดที่นำเสนอในเรื่อง ให้ได้สาระสำคัญอย่างชัดเจน
2. นำเรื่องที่เป็นส่วนสำคัญที่สุดในเนื้อเรื่องมากล่าวย้ำตามจุดประสงค์ของเรื่อง
3. เลือกคำกล่าวที่น่าเชื่อถือ สุภาษิต คำคมที่สอดคล้องกับเรื่องมาเป็นความลงท้าย
4. ฝากข้อคิดและแนวปฏิบัติให้กับผู้อ่าน เพื่อนำไปพิจารณาและปฏิบัติ
5. เสนอแนวคิดหรือข้อใคร่ครวญลักษณะปลายเปิดให้ผู้อ่านนำไปคิดและใคร่ครวญต่อ
ลักษณะของเรียงความที่ดควรมีลักษณะที่เป็นเอกภาพ สัมพันธภาพ และสารัตถภาพ
เอกภาพ คือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของเรื่องไม่เขียนนอกเรื่อง
สัมพันธภาพ คือ มีความสัมพันธ์กันตลอดเรื่อง หมายถึงข้อความแต่ละข้อความหรือแต่ละย่อหนาจะต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันโดยตลอด
สารัตถภาพ คือ การเน้นสาระสำคัญของย่อหน้าแต่ละย่อหน้าและของเรื่องทั้งหมดโดยใชถ้อยคำ ประโยค ข้อความที่กระชับ ชัดเจน สื่อความเรื่องทั้งหมดได้เป็นอย่างดียิ่ง
การเขียนย่อความ
การย่อความ คือการนำเรื่องราวต่างๆ มาเขียนใหม่ด้วยสำนวนภาษาของผู้ยอเอง เมื่อเขียนแล้วเนื้อความเดิมจะสั้นลง แต่ยังมีใจความสำคัญครบถ้วนสมบูรณ์ การย่อความนี้ ไม่มีขอบเขตว่าควรจะสั้นหรือยาวเท่าใดจึงจะเหมาะ เพราะบางเรื่องมีพลความมากก็ย่อลงไปได้มาก แต่บางเรื่องมีใจความสำคัญมาก ก็อาจย่อได้ 1 ใน 2 หรือ 1 ใน 3 หรือ 1 ใน 4 ของเรื่องเดิมตามแต่ผู้ย่อจะเห็นสมควร
ใจความสำคัญ คือ ข้อความสำคัญในการพูดหรือการเขียน พลความ คือข้อความที่เป็นรายละเอียดนำมาขยายใจความสำคัญให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ถ้าตัดออกผูฟังหรือผู้อ่านก็ยังเข้าใจเรื่องนั้นได้

หลักการย่อความ จากสิ่งที่ได้อ่าน ได้ฟัง
1. อ่านเนื้อเรื่องที่จะย่อให้เข้าใจ อาจมากกว่า 1 เที่ยวก็ได้
2. เมื่อเข้าใจเรื่องดีแล้ว จึงจับใจความสำคัญทีละย่อหน้าเพราะ 1 ย่อหน้าจะมีใจความสำคัญอย่างเดียว
3. นำใจความสำคัญแต่ละยอหนา มาเขียนใหม่ด้วยภาษาของตนเอง โดยคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังนี้
3.1 ไม่ใช้อักษรย่อในข้อความที่ย่อ
3.2 ถ้ามีคำราชาศัพท์ในเรื่องให้คงไว้ไม่ต้องแปลออกเปนคำสามัญ
3.3 จะไม่ใชเครื่องหมายต่างๆ ในข้อความที่ย่อ เช่น อัญประกาศ
3.4 เนื้อเรื่องที่ย่อแล้ว โดยปกติเขียนติดต่อกันในยอหน้าเดียวและควรมีความยาวประมาณ 1 ใน 4 ของเรื่องเดิม
4. คำนำในการอ่านยอความ ให้ใช้แบบคำนำย่อความ ตามประเภทของเรื่องที่จะยอโดยเขียนคำนำไว้ย่อหน้าแรก แล้วจึงเขียนข้อความที่ย่อในย่อหน้าต่อไป
การเขียนบันทึก
การเขียนบันทึกเป็นวิธีการเรียนรู้และจดจำที่ดี นอกจากนี้ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ยังสามารถนำไปเป็นหลักฐานอ้างอิงเพื่อประโยชน์อื่นต่อไป เช่น
การจดบันทึกจาการฟัง
การบันทึกจากการฟังหรือการประสบพบเห็นด้วยตนเอง ย่อมก่อให้เกิดความรู้ ในที่นี้ใคร่ขอแนะนำวิธีจดบันทึกจากการฟังและจากประสบการณ์ตรง เพื่อผู้เรียนจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาด้วยตนเองได้วิธีหนึ่ง
วิธีจดบันทึกจาการฟัง
การจดบันทึกจาการฟังจะได้ผลดีเพียงใดขึ้นอยู่กับสมรรถภาพในการฟังของผู้จดบันทึกในขณะที่ฟังอยู่นั้น เราไม่สามารถจดจำคำพูดได้ทุกคำ ดังนั้นวิธีจดบันทึกจากการฟังจึงจำเป็นต้องรู้จักเลือกจดเฉพาะประเด็นสำคัญ ใช้หลักการอย่างเดียวกับการย่อความนั่นเอง กล่าวคือต้องสามารถแยกใจความสำคัญออกจากพลความได้ ข้อความตอนใดที่ไม่สำคัญหรือไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นโดยตรงก็ไม่จำเป็นต้องจดและวิธีการจดอาจใช้อักษรย่อหรือเครื่องหมายที่ใช้กันทั่วไปเพื่อบันทึกไว้ได้อย่างรวดเร็ว เช่น
.. แทน โรงเรียน 


1 ความคิดเห็น:

  1. มีตัวอย่างเรียงความที่ดีไหมคะ พอดีอยากเอามาศึกษาเป็นตัวอย่างค่ะ

    รับเปิดร้าน Shopee

    ตอบลบ

ที่อยู่ ติดต่อ

ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนเชียงราย ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย โทรศัพท์ 053-650-995 โทรสาร 53-650-996 E-mail: yupintubtim@gmail.com
 

Blogger news

Blogroll

About